โรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้
เตือนเกษตรกรผู้ทำสวนกล้วยไม้ เนืองจากช่วงนี้ฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ต่อเนื่อง เหมาะต่อ การเกิดโรคแอนแทรคโนส ซึ่งเป็นโรคที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลออนซิเดี่ยม สกุลแคทลียา สกุลแวนด้า สกลหวาย และลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่างๆ เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมและฝน
เชื้อสาเหต เชื้อรา Collectotrichum sp.
ลักษณะอาการ
ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดง หรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็นแผลใหญ่เห็นเป็น วงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อเป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมี ขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบ
สีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เนื้อเยื่อของแผล นานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่น มาร่วมภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม อย่างอาการเริ่มแรกกล้วยไม้ ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก
แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น
แนะนำวิธีการป้องกันและกำจัด ดังนี้
1. เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรค ไปเผาทำลาย เพื่อเชื้อจะได้ไม่แพร่ระบาดไปยังที่อื่นๆ
2. อย่าให้กล้วยไม้ได้รับแสงแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบอ่อนแอ และเกิดโรคได้ง่าย
3. พ่นด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ พ่นเมื่อพบโรคทุก 7-10 วัน เช่น
- สารชีวภาพกำจัดโรคพืช โคโค-แมกซ์ KOKOMAX 60 กรัม ต่อน้ำ /20 ลิตร
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ